เมนู

ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "การทำโดยตั้งใจ การทำติดต่อกัน การทำไม่หยุด
การประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดทิ้งความพอใจ การไม่ทอดธุระ การ
เสพคุ้น การทำให้มีขึ้น การทำให้มาก ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย".
คำว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา 3 . คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ 2 คือ
อธิมุตติแห่งจิต และนิพพาน. และในที่นี้ สมาบัติ 8 ชื่อว่า
อธิมุตติ เพราะพ้นแล้วเป็นอันดี จากกิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น
นิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง.
คำว่า ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป.
คำว่า อนุปฺป เท ญาณํ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดย
ปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้น ๆ
ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "คำว่า ขเย ญาณํ คือ ญาณ
ของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คำว่า อนุปฺปเท ญาณํ คือ ญาณของผู้
พรั่งพร้อมด้วยผล.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น พึงประกอบความ ตามนัยที่
กล่าวแล้วในหมวดหนึ่งนั้นแล. พระเถระแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรม
หมวดของ รวม 35 คู่ ด้วยประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด 2

ว่าด้วยธรรมหมวด 3


ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง ดังนี้แล้ว บัดนี้
พระเถระเริ่มเทศนาต่อไป เพื่อจะแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสาม. บรรดา